วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

O-net2552 31มกราคม 2554











































ตอบ...2
การเหม็นหืนของน้ำมัน
หมายถึง การที่ไขมันมีกลิ่นปกติขณะเก็บ การที่ไขมันจะเหม็นช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา เราควรเก็บไขมันและน้ำมันไว้ใรที่ที่ปิดมิดชิด การเหม็นหืนของไขมัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางวเคมี 2 แบบ ดังนี้
การเหม็นหืนเนื่องจากออกซิเจน ในระหว่างที่เก็บ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะได้สารเพอร์ออกไซด์ซึ่งมีกลิ่นหืน กรดไขมันมีแขนคู่หลายอันเหม็นหืนเร็วกว่ากรดไขมันที่มีแขนคู่เพียงอันเดียว ในช่วงแรก ปฏิกิริยาการเหม็นหืนจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ในช่วงหลังจะเร็วขึ้น การเติมไฮโดรเจนจะช่วยให้ไขมันเหม็นหืนช้าลงบ้าง น้ำมันพืชเหม็นหืนช้ากว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งที่น้ำมันพืชมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวมากกว่า แต่น้ำมันพืชมีปริมาณวิตามินอีที่เป็นสารป้องกันออกซิเจนอยู่แล้วตามธรรมชาติ การเหม็นหืนของน้ำมันป้องกันได้โดยเก็บไขมันในภาชนะที่ทึบแสง อากาศเข้าไม่ได้ และต้องเก็บไว้ในที่เย็น
การเหม็นหืนเนื่องจากน้ำ วิธีนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าการเติมออกซิเจน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ นม เมล็ดพืชต่างๆ และอาหารที่แช่เย็นแข็ง การเหม็นหืนในที่นี้เกิดจากโมเลกุลของไขมันไตรกลีเซอไรด์ถูกย่อยด้วยน้ำย่อยไลเปสเมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ได้ไขมันโมเลกุลส้นๆที่มีกลิ่นหืน คือ กรดบิวไทริค ไลเปสอยู่ในอาหารที่มีไขมัน ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน การเหม็นหืนจึงเกิดขึ้นเฉพาะในอาหารที่ผ่านความร้อนไม่สูงมาก หรือความร้อนที่ไม่มากพอที่จะทำลายเอนไซม์ การเหม็นหืนจึงป้องกันโดยใช้ความร้อนทำลายเอนไซม์ และระวังอย่าให้มีน้ำปนในไขมัน
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/fatpic.html
กระบวนการผลิตน้ำอัดลม
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอย่างแรก คือ น้ำ ซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์ โดยนำน้ำบาดาลที่เก็บไว้ในถังพักมาผ่านถังกรองทราย เพื่อกำจัดสิ่งแขวนลอยออกไป จากนั้นจะผ่านเรซิน (resin) เพื่อกำจัดอิออน ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ph) ให้ได้ประมาณ 6-7 เติมคลอรีนประมาณ 8 ppm (8 ส่วนในล้านส่วน) เพื่อฆ่าเชื้อโรค น้ำบริสุทธิ์ที่ได้นี้จะนำมาใช้ในการเตรียมน้ำเชื่อมโดยต้มกับน้ำตาลทรายที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซสเซียส เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง น้ำเชื่อมที่ได้จะมีลักษณะขุ่น จึงต้องมีการฟอกสีและกรองก่อนที่จะทำให้เย็นลงทันทีจนมีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซสเซียส จากนั้นนำน้ำเชื่อมที่ได้มาผสมกับหัวน้ำเชื้อ ซึ่งมากมายหลายชนิดแตกต่างออกไปตามชนิดของน้ำอัดลม
ในหัวน้ำเชื้อจะประกอบด้วยสารที่ให้กลิ่น สารให้สี และสารที่ให้รสเปรี้ยว ได้แก่ กรดชนิดต่างๆ น้ำหวานที่ได้จะถูกทำให้เย็นลงก่อนอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อทำให้ก๊าซละลายให้มากขึ้น แล้วจึงทำการปิดฝา
http://www.doctor.or.th/node/3760
วิธีการบ่ม อาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังนี้
- การรมในห้องปิดสนิทด้วยแก๊สเอทธีลีน โดยใช้ความเข้มข้น 0.01 ไมโครลิตรต่อลิตรที่ 20-25 องศา เซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95 เปอร์เซ็นต์ นาน 24 ชั่วโมง วิธีนี้ชลอเวลาในการสุกได้ 3-7 วัน
- การบ่มด้วยแก๊สอะเซทธีลีน หรือถ่านแก๊สที่ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ในอัตรา 50 กรัม ต่อมะม่วง ประมาณ 15 กิโลกรัม โดยต้องระวังอย่าให้ผลมะม่วงสัมผัสกับถ่านแก๊ส ทำการปิดคลุมด้วยผ้าใบ 1-2 คืนก่อนเปิดผ้าใบเพื่อให้มะม่วงเริ่มสุก - การจุ่มในสารละลายเอทธีฟอน ความเข้ม 750 มิลลิลิตรต่อลิตร ที่มี 2-chloroethyl phosphonic acid เป็น active ingredient นาน 2-3 นาที แล้วผึ่งให้แห้งเพื่อบ่มสุก ปิดคลุมด้วยผ้าใบ 1 คืน จึงเปิดผ้าคลุมและปล่อยให้มะม่วงบ่มสุกหมายเหตุ : มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแม้เก็บแก่ แต่หลังจากบ่มถ่านแก๊ส 2 คืน รสชาติจะยังเปรี้ยว จึงต้องรอให้บ่มสุกอีก 3 วัน มะม่วงจึงสุกและมีรสหวานจัดการบ่มมะม่วงเพื่อแปรรูป แช่ในสารละลายเอธีฟอน หรือผสมเอธีฟอนในน้ำ แล้วใส่บัวรดมะม่วงที่ใส่ในถังขนาดบรรจุ 5-7 ตัน ปิดด้วยผ้าใบพลาสติก เป็นเวลา 1 คืน ทำการเปิดผ้าใบในวันรุ่งขึ้น และปล่อยมะม่วงไว้อีกประมาณ 24 ชั่วโมง ก่อนทำการแปรรูป หากต้องใช้มะม่วงสุกมากในการแปรรูป อาจต้องเพิ่มระยะเวลาในการบ่มให้นานขึ้น
http://www.pm.ac.th/wbivrj/mango/M07.htm




























ตอบ4
ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝนปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6 ฝนกรดส่วนมากพบในบริเวณศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ตะกอนกรดสามารถอยู่ในรูปของฝน หมอก หิมะ และมีผลกระทบต่อพืช สัตว์น้ำ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ลมที่พัดแรงสามารถพัดพาอนุภาคกรดไปพื้นที่อื่นได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร












ตอบ1
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (อังกฤษ: hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง

กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl











ตอบ1
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี



















ตอบ4
เวเลนซ์อิเล็กตรอน คือ อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุดของอะตอม โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารก็มาจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนนั่นเอง











ตอบ 3
ดีเกลือ คือสารประกอบเกลือซัลเฟตของโซเดียมและแมกนีเซียม แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ ดีเกลือไทยและดีเกลือฝรั่ง ซึ่งทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติและลักษณะแต่งต่างกัน ได้แก่...

1. ดีเกลือไทย มีสูตรทางเคมีว่า Na2SO4 ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของโซเดียม หรือเรียกง่ายๆว่า "โซเดียมซัลเฟต" มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็ม มีคุณสมบัติเป็นถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายอุจจาระ ถ่ายพรรดึก ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

2. ดีเกลือฝรั่ง มีสูตรทางเคมีว่า MgSO4.7H2O ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม หรือเรียกว่า "แมกนีเซียมซัลเฟต" เรียกเป็นภาษาสามัญแบบฝรั่งว่า Epsom salts มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวหรือใส คล้ายผงชูรส ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ รสเค็ม

มีคุณสมบัติเป็นยาระบายถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต นิยมนำเอามาใช้ในการรักษาปลา และยังมีการนำไปใช้ในการเกษตรเรื่องเอาไปช่วยรักษาดินที่ขาดแมกนีเซียม นอกจากนี้สาวๆ ยังนิยมนำไปเป็นส่วนผสมในการรักษาสิวแบบประหยัดอีกด้วย

ดีเกลือทั้งสองแบบมีคุณประโยชน์คล้ายกัน แต่โดยส่วนมากดีเกลือที่มีในท้องตลาดจะเป็นแมกนีเซียมซัลเฟต (ดีเกลือฝรั่ง) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสารเคมีทั่วไป หรือร้านขายยาแผนโบราณ โดยมีคุณสมบัติ ได้แก่...

ใช้เพื่อกินเป็นยาระบาย โดยผสมน้ำ 3 ถ้วยต่อดีเกลือ 4 ช้อนโต๊ะ

ใช้ในบ่อกุ้ง เพื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียม ช่วยกุ้งสร้างเปลือกใหม่ ในช่วงลอกคราบ

ใช้ประกอบอาหาร อาทิ เต้าหู้ ดีเกลือจะช่วยแยกชั้นเนื้อและชั้นน้ำของถั่วเหลืองปั่น

ใช้ในการขับไล่สารพิษในไต

ใช้เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชประเภทผล เช่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง

คุณสมบัติทางเคมี

ดีเกลือฝรั่งใช้ชื่อทางเคมีว่า แมกนีเซียมซัลเฟต Magnesium Sulfate MgSO4 ชื่อสามัญเรียกว่า Epsom Salt หรือ Bitter Salt เหตุเพราะมีรสขมฝาด ไม่ได้เค็มเหมือนเกลืออย่างที่เข้าใจ

ลักษณะที่ใช้กันจะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดขาว ซึ่งได้มาจากการนำน้ำทะเลมาเคี่ยวจนแห้ง เหลือเป็นเกลือสะตุ แต่ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นจากอากาศอยู่ ดังนั้น เมื่อวางดีเกลือทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง จะทำให้จับตัวแข็งเป็นก้อน



















ตอบ4
ในทางเคมี สารประกอบไอออนิก (อังกฤษ: Ionic compound) เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดจากโลหะ (ที่มีประจุบวก) กับอโลหะ (ที่มีประจุลบ) มารวมกันเป็นสารประกอบ (หรือเรียกว่าเป็นเกลือ) โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก ซึ่งสารประกอบไอออนิกจะเป็นสารประกอบที่ไม่มีสูตรเคมี แต่สามารถเขียนสูตรอย่างง่ายได้ เพราะไอออนจะเกาะกันหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็น เกลือกับเบส แต่กรดจะเป็นสารประกอบโควาแลนซ์










































































วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลัก+ษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ

ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป